Getting Start with SnagIt 9
คลังบทความของบล็อก
วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
กินเต้าหู้เสี่ยงสมองเสื่อม....!!!
ผลวิจัยชิ้นนี้ น่าจะส่งผลกระทบกับชาวมังสวิรัติพอสมควรทีเดียว เพราะมันบ่งชี้ว่า คนที่กินถั่วเหลืองมาก เช่น เต้าหู้ มีโอกาสเพิ่มขึ้นที่จะสูญเสียความทรงจำ นักวิจัยได้ศึกษาผู้สูงวัยชาวอินโดนีเซีย 719 คนทั้งในเขตเมืองและเขตชนบทของชวา พบว่าคนที่กินเต้าหู้มาก อย่างน้อยวันละ 1 มื้อ มีความทรงจำแย่ โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่มีอายุ 68 ปีขึ้นไป
ผลงานของมหาวิทยาลัยลัฟโบโรชิ้นนี้ ตีพิมพ์ในวารสาร Dementias and Geriatias Cognitive Disordersผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองเป็นแหล่งโปรตีนทดแทนเนื้อสัตว์สำหรับประชาชนจำนวนมากในประเทศกำลังพัฒนา แต่ชาวตะวันตกก็กำลังบริโภคถั่วเหลืองมากขึ้นโดยเชื่อว่าเป็น "สุดยอดอาหาร"
ถั่วเหลืองมีสารอาหารที่เรียกว่า ไฟโตเอสโทรเจน ซึ่งให้ผลคล้ายฮอร์โมนเอสโทรเจนของเพศหญิง มีหลักฐานว่าสารชนิดนี้อาจช่วยปกป้องสมองในกลุ่มคนหนุ่มสาวและคนวัยกลางคน แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดถึงผลที่มีต่อสมองของผู้สูงอายุ ผลวิจัยล่าสุดชิ้นนี้บ่งชี้ว่า ไฟโตเอสโทรเจนในปริมาณมากอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคสมองเสื่อม
หัวหน้าทีมวิจัย ศาสตราจารย์อีฟ โฮเกอร์เวิร์ส บอกว่า ผลวิจัยก่อนหน้านี้ระบุว่า การบำบัดด้วยเอสโทรเจนเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคสมองเสื่อมเป็น 2 เท่าในกลุ่มคนอายุ 65 ปีขึ้นไป เอสโทรเจนและอาจรวมถึงไฟโตเอสโทรเจน มีแนวโน้มจะกระตุ้นการเติบโตของเซลล์ ซึ่งอาจไม่เป็นผลดีต่อสมองของคนสูงวัย เอสโทรเจนในปริมาณมากอาจยิ่งทำให้เซลล์ที่เสียหายเพราะอนุมูลอิสระยิ่งเสียหายมากขึ้น
อย่างไรก็ดี มีข้อสังเกตว่า สมองอาจไม่ได้เสียหายเพราะเต้าหู้ แต่เป็นเพราะสารถนอมอาหาร ฟอร์มาลดีไฮด์ ซึ่งใช้กันมากในอินโดนีเซีย นักวิจัยยอมรับว่า ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อดูให้แน่ใจว่า ผลอย่างเดียวกันนี้จะเกิดขึ้นกับชนชาติอื่นๆ หรือไม่ อย่างไรก็ดี เคยมีการวิจัยพบว่า การกินเต้าหู้ในปริมาณมากเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคสมองเสื่อมในผู้ชายอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่น
ศาสตราจารย์เดวิด สมิธ แห่งมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด บอกว่า เต้าหู้มีสารอาหารที่ซับซ้อน ส่วนผสมหลายอย่างอาจส่งผล "เมื่อเราแก่ตัวลง สิ่งที่เกิดขึ้นในสมองอาจมีปฏิกิริยาต่อเอสโทรเจนในทางตรงกันข้ามกับที่เราคาดหวัง"
งานวิจัยชิ้นนี้ยังพบด้วยว่า การกินถั่วเน่า ซึ่งได้จากการนำเมล็ดถั่วเหลืองไปหมัก ช่วยให้ความจำดีขึ้น ซึ่งอาจเป็นเพราะมีวิตามินโฟเลตสูง ซึ่งโฟเลตช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคสมองเสื่อม อย่างไรก็ดี งานวิจัยนี้ไม่ได้หมายความว่า การกินเต้าหู้ในปริมาณปานกลางจะทำให้เกิดปัญหา
รีเบกกา วูด แห่งกองทุนวิจัยโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งสนับสนุนเงินทุนแก่โครงการวิจัยนี้บอกว่า ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงและผลดีของสุดยอดอาหาร การวิจัยหาสาเหตุของโรคอัลไซเมอร์จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ค้นพบวิธีการใหม่ๆ ในการป้องกันโรคนี้
ผลงานของมหาวิทยาลัยลัฟโบโรชิ้นนี้ ตีพิมพ์ในวารสาร Dementias and Geriatias Cognitive Disordersผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองเป็นแหล่งโปรตีนทดแทนเนื้อสัตว์สำหรับประชาชนจำนวนมากในประเทศกำลังพัฒนา แต่ชาวตะวันตกก็กำลังบริโภคถั่วเหลืองมากขึ้นโดยเชื่อว่าเป็น "สุดยอดอาหาร"
ถั่วเหลืองมีสารอาหารที่เรียกว่า ไฟโตเอสโทรเจน ซึ่งให้ผลคล้ายฮอร์โมนเอสโทรเจนของเพศหญิง มีหลักฐานว่าสารชนิดนี้อาจช่วยปกป้องสมองในกลุ่มคนหนุ่มสาวและคนวัยกลางคน แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดถึงผลที่มีต่อสมองของผู้สูงอายุ ผลวิจัยล่าสุดชิ้นนี้บ่งชี้ว่า ไฟโตเอสโทรเจนในปริมาณมากอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคสมองเสื่อม
หัวหน้าทีมวิจัย ศาสตราจารย์อีฟ โฮเกอร์เวิร์ส บอกว่า ผลวิจัยก่อนหน้านี้ระบุว่า การบำบัดด้วยเอสโทรเจนเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคสมองเสื่อมเป็น 2 เท่าในกลุ่มคนอายุ 65 ปีขึ้นไป เอสโทรเจนและอาจรวมถึงไฟโตเอสโทรเจน มีแนวโน้มจะกระตุ้นการเติบโตของเซลล์ ซึ่งอาจไม่เป็นผลดีต่อสมองของคนสูงวัย เอสโทรเจนในปริมาณมากอาจยิ่งทำให้เซลล์ที่เสียหายเพราะอนุมูลอิสระยิ่งเสียหายมากขึ้น
อย่างไรก็ดี มีข้อสังเกตว่า สมองอาจไม่ได้เสียหายเพราะเต้าหู้ แต่เป็นเพราะสารถนอมอาหาร ฟอร์มาลดีไฮด์ ซึ่งใช้กันมากในอินโดนีเซีย นักวิจัยยอมรับว่า ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อดูให้แน่ใจว่า ผลอย่างเดียวกันนี้จะเกิดขึ้นกับชนชาติอื่นๆ หรือไม่ อย่างไรก็ดี เคยมีการวิจัยพบว่า การกินเต้าหู้ในปริมาณมากเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคสมองเสื่อมในผู้ชายอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่น
ศาสตราจารย์เดวิด สมิธ แห่งมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด บอกว่า เต้าหู้มีสารอาหารที่ซับซ้อน ส่วนผสมหลายอย่างอาจส่งผล "เมื่อเราแก่ตัวลง สิ่งที่เกิดขึ้นในสมองอาจมีปฏิกิริยาต่อเอสโทรเจนในทางตรงกันข้ามกับที่เราคาดหวัง"
งานวิจัยชิ้นนี้ยังพบด้วยว่า การกินถั่วเน่า ซึ่งได้จากการนำเมล็ดถั่วเหลืองไปหมัก ช่วยให้ความจำดีขึ้น ซึ่งอาจเป็นเพราะมีวิตามินโฟเลตสูง ซึ่งโฟเลตช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคสมองเสื่อม อย่างไรก็ดี งานวิจัยนี้ไม่ได้หมายความว่า การกินเต้าหู้ในปริมาณปานกลางจะทำให้เกิดปัญหา
รีเบกกา วูด แห่งกองทุนวิจัยโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งสนับสนุนเงินทุนแก่โครงการวิจัยนี้บอกว่า ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงและผลดีของสุดยอดอาหาร การวิจัยหาสาเหตุของโรคอัลไซเมอร์จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ค้นพบวิธีการใหม่ๆ ในการป้องกันโรคนี้
ที่มา : ไทยโพสต์
เคี้ยวมาก...สุขภาพดี
การเคี้ยวอาหารมิเพียงเกี่ยวกับสุขภาพเท่านั้น ยังเกี่ยวพันกับสมรรถนะของสมองอย่างแนบแน่นด้วย เพราะการเคี้ยวมาก จะช่วยให้สมองปราดเปรียวขึ้น โดยการเคี้ยวอาหารจะกระตุ้นให้ต่อมน้ำลาย (salivary gland) และต่อมใต้หู (parotid gland) หลั่งฮอร์โมนออกมา ขณะเดียวกัน อาการเคี้ยวซึ่งทำให้ฟันบนกับฟันล่างกระทบกันก็จะกระตุ้นสมองใหญ่ด้วย การกระตุ้นนี้จะทำให้สมองใหญ่ปราดเปรียวยิ่งขึ้น ช่วยเพิ่มพลังแห่งการวินิจฉัย การขบคิดและสมาธิ ต่อไปนี้คือผลที่ได้จากการทดลองเกี่ยวกับจำนวนครั้งที่เคี้ยวอาหาร การเคี้ยวอาหาร 30 ที ผลที่ได้จากการกินอาหารแต่ละคำ ควรเคี้ยวอย่างน้อยที่สุด 30 ที จะช่วยให้เหงือกแข็งแรง และช่วยรักษาอาการขี้หงุดหงิดจิตใจไม่สงบ การเคี้ยวอาหาร 50 ที จะช่วยลดการกลัดกลุ้มเจ้าอารมณ์ อย่างน้อยที่สุดช่วยให้ลืมเรื่องไม่น่าอภิรมย์ได้ในเวลากินอาหาร นอกจากนี้ ยังลดความอ้วนได้ เนื่องจากไม่มีส่วนผสมของน้ำที่เกินจำเป็นถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย การเคี้ยวอาหาร 100 ที ช่วยให้หนักแน่นมากขึ้น สามารถวินิจฉัยและจัดการปัญหาต่างๆ อย่างสงบเยือกเย็น กินน้อยแต่ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้มาก นอกจากนี้ยังช่วยลดการอยากอาหารประเภทเนื้อ หรือระคายต่อร่างกายได้ด้วย การเคี้ยวอาหาร 200 ที ถ้ายืนหยัดเคี้ยว 200 ที ต่ออาหาร 1 คำได้ทุกมื้อแล้ว จะหายจากโรคกระเพาะเรื้อรัง และโรคกระเพาะอาหารเป็นแผลอย่างรวดเร็ว
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)